6 สัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการลงทุน

Posted on เมษายน 21, 2021ปิดความเห็น บน 6 สัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการลงทุน

6 สัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการลงทุน ที่สำคัญ ก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุน โดยที่นักลงทุนหลายคนอาจต้องใช้วิธีรอดูข้อมูล รอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงค่อยๆตัดสินใจลงทุน ในขณะที่หลายคนใช้วิธีมองภาพรวมของเศรษฐกิจที่จะส่งผลระยะยาวในอนาคต การมองหรือการคาดการณ์ไปในอนาคตนั้น ตัวสำคัญที่เราควรพิจารณา คือตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคตได้ ซึ้งตัวบ่งชี้หรือสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนมีดังนี้

6 สัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการลงทุน

1.เงินเฟ้อ

โดยที่เงินเฟ้อเป็นตัวเลขที่บอกภาพรวมแล้วว่า สินค้าและบริการต่างๆจะมีราคาที่แพงขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ถ้าตัวเลขนี้เป็นบวกแสดงว่าสินค้ามีราคาแพงขึ้น และถ้าตัวเลขติดลบแสดงว่าสินค้ามีราคาลดลง ฉะนั้นตัวเลขเงินเฟ้อนี้ ถ้าจะให้ดีและถือว่าเป็นภาวะปกติ ไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ต้องเป็นเงินเฟ้อแบบอ่อนๆ ซึ่งข้าวของอาจแพงขึ้นได้นิดหน่อย แต่ก็ไม่เกิน 5% เพราะเงินเฟ้อแบบอ่อนจะทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติได้

นอกจากนี้ หากเงินเฟ้อขยับสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ปรับลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับ จะนำไปใช้ซื้อของได้น้อยลง เช่น หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 1.5% ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อหรือราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 1% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ จะอยู่ที่ 0.5% ต่อปี   ดังนั้นเงินเฟ้อจึงมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ  หากจะลงทุนควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหรือชนะเงินเฟ้อ เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

6 สัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการลงทุน

2.GDP Growth Rate

เป็นดัชนีที่ชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ  บอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศในแต่ละปีว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด โดยหาก GDP เป็นบวก หมายความว่า เศรษฐกิจภาพรวมมีการเติบโตขึ้นจากปีก่อน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี ขณะเดียวกัน หาก GDP เป็นบวก แต่เป็นบวกที่น้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงว่า เศรษฐกิจมีการเติบโต แต่เติบโตในระดับที่ช้าลงเรื่อย ๆ ในทางกลับกัน หาก GDP ติดลบ

หมายความว่า เศรษฐกิจโดยภาพรวมมีการหดตัวจากปีก่อน บ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นหยุดชะงักหรือชะลอตัวจะเห็นได้ว่า GDP คือ ค่าที่ใช้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงมีความสำคัญต่อนักลงทุนและการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน เพราะไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายเล็กหรือรายใหญ่ ย่อมอยากจะลงทุนในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดี มีเสถียรภาพ และมีการเติบโตที่มากกว่า ดังนั้น GDP จึงเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ที่สำคัญ

อัตราการว่างงาน

3.อัตราการว่างงาน

ในปัจจุบันตัวเลขการว่างงาน ตัวเลขนี้ในภาพรวมยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแปลว่าคนมีงานทำ แต่ที่สำคัญกว่าตัวเลขที่มากหรือน้อย คือ แนวโน้มการว่างงานนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น อัตราการว่างงาน อยู่ที่ 1% หากเป็น 1% ไปเรื่อย ๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น อาจเริ่มมีปัญหา    อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานที่ต่ำ ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะบอกว่า เศรษฐกิจของประเทศนั้น กำลังขยายตัวไปในทิศทางที่น่าพอใจเสมอไป โดยตัวเลขอัตราการว่างงานที่ต่ำ อาจตีความในอีกมุมหนึ่งได้ว่า เพราะหาแรงงานได้ยากมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างประชากรของประเทศกำลังวิ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็เป็นได้

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

4.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ทำโดยการสำรวจความเห็นของผู้บริโภคจากแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างว่า มีความคิดเห็นอย่างไร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น มุมมองต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างไร มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือแย่ลง หรือมุมมองต่อการบริโภค จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นหรือไม่  ข้อดีของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค คือ จะทันเหตุการณ์ ช่วยให้มองไปในอนาคตได้ เพราะถ้าตัวเลขออกมาไม่ดี ก็พอจะมองเห็นแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคต อย่างน้อยๆ ภายในระยะเวลาอันใกล้ได้ ส่วนข้อเสีย คือ มุมมองความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว ดังนั้น ตัวเลขนี้จะสามารถบอกอนาคตได้ในระยะสั้นเท่านั้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ

5.ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ

เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้ตัดสินใจดำเนินนโยบายทางการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น

ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน

6.ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน

ดัชนีนี้ใช้ติดตามภาวะและประเมินแนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชน ดังนั้น จึงเป็นดัชนีที่สะท้อนอุปสงค์ภายในประเทศ สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริง โดยมีองค์ประกอบ 5 รายการ ได้แก่ พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง) การนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักร/อุปกรณ์ในประเทศ และปริมาณจำหน่ายยานยนต์เพื่อการลงทุน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะขยายตัวหรือหดตัวได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะเวลาที่ผู้ผลิตขายของได้ เนื่องจากเห็นว่าผู้บริโภคมีการซื้อของ ขณะที่สินค้าคงเหลือก็เหลือน้อยลง ผู้ผลิตก็มีแนวโน้มที่จะสั่งของมาผลิตเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม 6 สัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการลงทุน นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัจจัยพื้นฐานในการลงทุน อีกทั้งยังมีมิติการมองภาพรวมทางเศรษฐกิจลงมาสู่ระดับอุตสาหกรรม และอาจะลงมาระดับบริษัทหรือหุ้นรายตัว ดังนั้นใครที่สนใจที่จะลงทุนสามารถแวะเข้ามาดูข้อมูลเพิ่มเติมก่อนได้นะคะ

สมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพ กระเทียม (Garlic) นิยมใช้เสริมสุขภาพและป้องกันโรคมาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยประโยชน์ของกระเทียมมาจากสารไฟโตนิวเทรียนท์รวมถึงวิตามินเกลือแร่บางตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เช่น อัลลิซิน (Allicin) ออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ เมธิลอัลลิลไตรซัลไฟด์ (Methyl allyl trisulfide) ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ไดอัลลิลไตรซัลไฟด์ (Diallyl trisulfide) ออกฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ เป็นต้น

เมืองสวรรค์แห่งขุนเขา เที่ยวจังหวัดน่าน เป็นเมืองล้านนาตะวันออก ที่งดงามด้วยเรื่องราวของวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ท้องถิ่น เป็นอีกหนึ่งเมืองสงบและจุดหมายปลายทางยอดฮิตที่เหล่านักเดินทางต่างใฝ่ฝัน ที่จะมาเที่ยวสัมผัสบรรยากาศของความเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะไปเที่ยวน่านฤดูไหนก็สวยงามเสมอ